เมนู

สัพพสัตตานัง หิตจรณปัญหา ที่ 6


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า สมเด็จพระตถาคตทศพลญาณนี้มีแต่ว่าจะให้
เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย พระองค์จะได้ให้เป็นโทษแก่สัตว์ทั้งหลายหามิได้ ปุน จ ครั้น
มาใหม่เล่า พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า เมื่อตรัสพระสัจธรรมเทศนาอัคคิขันโธปมสูตรนั้น พระภิกษุ
60 รูปฟังไป อาศัยด้วยว่าตนมีศีลบริสุทธิ์สิ้นราคี จิตนั้นเลื่อมใสทวีคูณขึ้นไปกว่าเก่า พระผู้
เป็นเจ้า 60 รูปนั้นก็พ้นจากอาสวมลทินสิ้นตัณหาอุปาทาน พระภิกษุที่เป็นพาลด่างพร้อยใน
ศีลนั้นเป็นปัจจุทธรณ์สึกเสีย ที่เป็นปาราชิกมีชู้เมียนั้นก็ดี ที่เป็นปาราชิกด้วยอทินนาทาน
และมนุสสวิคคหะ อุตตริมนุสสธรรมนั้นก็ดี มีประมาณ 60 รูป รากโลหิตออกมา นี่แหละ
พระตถาคตล้วนแต่จะให้เป็นประโยชน์แล้ว ก็เหตุไรจึงให้โทษแก่ภิกษุทั้งหลายถึงรากโลหิต
เป็นเหตุไฉนโยมสงสัยนักหนา ถ้าแม้แลว่าจะเชื่อเอาคำที่ว่า พระองค์เทศนาอัคคิขันโธปมสูตร
พระภิกษุ 60 รูปรากโลหิต คำที่ว่าพระองค์เจ้าคิดจะให้เป็นประโยชน์แก่สัตว์ก็เป็นมิจฉา แม้
จะเชื่อว่าพระองค์จะให้เป็นประโยชน์มิให้เป็นโทษแก่สัตว์ คำที่ว่าพระองค์ตรัสเทศนาอัคคิขัน-
โธปมสูตรนั้นก็จะผิด อยํ ปญฺโห ปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ มหนฺโต ใหญ่ล้ำ คมฺภีโร
ลึกนักหนา ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ คำที่ว่าสมเด็จพระ
บรมโลกุตรมาจารย์มิได้ให้สัตว์โลกเป็นโทษ ย่อมจะให้เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายนั้นจริง
ข้อซึ่งพระองค์เจ้าสำแดงธรรมปริยายอัคคิขันโธปมสูตร พระภิกษุทั้งหลาย 60 รูปรากโลหิตนั้น
ใช่ว่าสมเด็จพระสัพพัญญูจะไม่เอ็นดูกรุณา คิดวิหิงสาแกล้งเทศนาให้ฟังจนรากโลหิตหาบ่มิได้
พระภิกษุ 60 รูปนั้นปฏิบัติไม่ดีปฏิบัติผิด ไม่ต้องด้วยวินัยกิจสิกขาบทก็รากโลหิต อตฺคตโน
กิริยาย ด้วยกิจกระทำไม่ดี ตนกระทำไว้ต้องหาก จะว่าสมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาค แกล้ง
เทศนาให้รากโลหิตคิดให้โทษอย่างไรได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ใช่กระนั้น สมเด็จพระ
สัพพัญญูไปเทศนา พระภิกษุได้ฟังจึงรากโลหิต ถ้าสมเด็จพระภควันตบพิตรไม่ไปเทศนา อสุตฺวา
พระภิกษุ 60 รูปไม่ได้ฟัง ที่ไหนจะรากโลหิตออกมาเล่า
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ใช่เหตุการณ์ ด้วยฟังพระ
สัทธรรมเทศนา เป็นด้วยพระภิกษุ 60 รูปปฏิบัติผิดเป็นมิจฉา ตถาคตสฺส ธมฺมํ สุตฺวา ครั้นว่า
ได้ฟังพระศรีสุคตเทศนา ก็ให้ร้อนกายนักหนา จึงรากโลหิตออกมาด้วยร้อนกายนั้น ใช่จะราก

โลหิตด้วยฟังพระธรรมเทศนาหาบ่มิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา พระภิกษุทั้งหลายฟังธรรมร้อนกายรากโลหิต ด้วยเหตุที่พระบรมครู
เป็นต้นเหตุทรงแสดงธรรม ยถา พระผู้เป็นเจ้าจะเข้าใจฉันใด อหิ วมฺมิกํ ปวิเสยฺย เปรียบ
ดุจอสรพิษอันเข้าสู่จอมปลวกปล่องใหญ่ มีบุรุษขายคนใดคนหนึ่ง จะต้องการดิน วมฺมิกํ
ภินฺทิตฺวา
จึงไปขุดที่จอมปลวก บุรุษชายนั้นจะมีใจเจตนาที่จะปิดช่องปล่องแห่งอสรพิษนั้น
หามิได้ แต่เมื่อขุดไป ๆ ดินทั้งหลายอันร่วน ๆ ก็หล่นไหลเข้าไปอุดปล่องที่อสรพิษเข้าไปนั้น
จนแน่น อสรพิษนั้นจะออกก็ออกไม่ได้ ปากปล่องแน่น หายใจไม่ออกก็ถึงแก่กาลกิริยาตาย จะ
ว่าอสรพิษ นั้นตายด้วยความเบียดเบียนของชายนั้นหรือหาไม่เล่า
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าจึงเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ อสรพิษนั้น
ตายด้วยความเบียดเบียนของชายนั้น ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ความที่สงสัยกันมานี้จะมีฉันใดเล่า
ภควา สมเด็จพระบรมไตโลกนาถก็มีโทษเหมือนบุรุษชายนั้น เพราะพระองค์เป็นต้นเหตุตรัส
เทศนา ภิกษุ 60 รูปนั้นจึงรากโลหิตออกมา ฉันนั้นมิใช่หรือ
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ตถาคโต สมเด็จพระ
ตถาคตทศพลญาณเจ้า เทสิยมาโน เมื่อจะตรัสเทศนาให้มนุษย์เทวาฟัง อนุนยปฏิฆํ น กโรติ
จะเลือกที่รักมักที่ชังเคียดแค้น แก่หมื่นแสนสัตว์นิกรเทวดามนุษย์หาบ่มิได้ มหาราช
ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์โปรดประทานธรรมเทศนา เมื่อผู้ใดมีอุตสาหะ
ปฏิบัติเป็นอันดี เต ปฏิพุชฺฌนฺติ ผู้นั้นจะตรัสรู้มรรคผล ประชาชนจำพวกใดตั้งใจแต่ว่าจะ
กระทำปฏิบัติผิดเป็นมิจฉา ครั้นได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาคิดถึงตนที่ปฏิบัติมิจฉานั้น ปตนฺติ
ก็ตกไปตามความปฏิบัติผิดนั้น นี่แหละจะมาโทษพระทศพลกระไรเล่า
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร จงทรงพระสวนาการฟังความอุปมานี้ว่า ยังมีบุรุษ
ผู้หนึ่งมารักษา อมฺพํ วา ชมฺพุํ วา ซึ่งต้นมะม่วงต้นหว้า สผลํ อันมีผลสุกรรสหวาน ผลมะม่วง
ลูกหว้าที่ดีไม่มีหนอน ก็ตกเป็นก้อนทุกกิ่งก้าน ที่หนอนบ่อนก็บันดาลตกลงมา ยถา มีอุปมา
ฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ โปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาเล่าก็เหมือนกัน
สมฺมาปฏิปนฺนา ที่ปฏิบัติดีสำเร็จแก่ธรรมาภิสมัย ที่ปฏิบัติชั่วก็ถอยตัวตกร่วงไป มีอุปไมย
เหมือนผลไม้ที่หนอนบ่อนใน นกจิกกระรอกกัดฉะนั้น
อนึ่ง จงทรงพระสวนาการอุปมาไปอีกเล่า มหาราช ขอถวายพระพร เปรียบเหมือน

ชาวนาอันจะกระทำนา มีจิตปรารถนาจะหว่านพืชข้าวปลูกลงในนา ก็จับโคและกระบือมา
เทียมไถ ชาวนาก็ขับโคกระบือออกไปที่ไร่นา เมื่อไถไปไถมา อเนกสหสฺสานิ หญ้าก็ขาดวินาศ
ฉิบหายด้วยคมผาล หญ้าตายประมาณกว่าแสนสุดที่จะพรรณนา ยถา มีครุวนาฉันใด สมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ เมื่อจะพระราชทานธรรมเทศนาให้สัตว์รู้มรรคผลนั้น ก็มีพระทัย
หมายมั่นที่จะให้ได้ธรรมวิเศษ จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนา บุคคลผู้ใดเป็นสัมมาปฏิบัติ ก็ตรัสรู้
มรรคผล ผู้ใดที่ปฏิบัติเป็นมิจฉา ก็ตกไปเปล่า เช่นนี้มีมากนักหนา อุปไมยเหมือนหญ้าที่
ชาวนาไถเสียให้ขาด ตายดาษอยู่ฉะนั้น
ประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพร จงทรงพระสวนาการเปรียบปานดุจ
หีบอ้อย ปรารถนาจะกระทำซึ่งน้ำอ้อย ก็ตัวด้วงตัวแมงน้อยใหญ่อยู่ในลำอ้อยทั้งหลาย ถูกหีบ
ขาดไปถึงแก่ความตายนั้น ยถา มีอุปมาฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ โปรด
ประทานพระธรรมเทศนา เพื่อจะโปรดสัตว์ที่บารมีแก่กล้า ให้สำเร็จแก่ธรรมาภิสมัย บุคคลผู้
ใดที่ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติก็ได้สำเร็จมรรคผล ที่ปฏิบัติมิดีนั้น ปตนฺติ ก็ตกไปอุปไมยเหมือน
ด้วงแมงอันต้องหีบตายเพราะคนทั้งหลายจะเอารสน้ำอ้อยฉะนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ตกว่าพระภิกษุ 60 รูปนั้นตกไปด้วยพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระ
มหากรุณาเจ้าตรัสเทศนาแลสิ
พระนาคเสนรับคำว่า อาม เออ ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจบุรุษช่าง
ถากไม้ ที่ไหนคดก็ถากกลัดดัดให้ตรง กระทำให้บริสุทธิ์ ที่ไหนเป็นไม้ไม่ต้องการก็ทิ้งไว้ เลือก
เอาแต่ไม้ที่ต้องการมิใช่หรือ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองอการตรัสว่า อาม ภนฺเต เออ ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า ช่างถากนั้นเล่าเลือกเอาแต่ไม้ที่ต้องการ ที่ไหนพาลจะคดก็งดไว้
พระนาคเสนถวายพระพรว่าฉันใดก็ดี ภควา สมเด็จพระพิชิตมารมุนีเจ้า ก็สงเคราะห์
แต่ผู้ที่ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ ที่ปฏิบัติเป็นมิจฉาก็ละเสียเหมือนกัน ขอถวายพระพร
ประการหนึ่ง เต ปน ภิกฺขู อันว่าภิกษุ 60 รูป ซึ่งปฏิบัติผิดนั้น ปตนฺติ ตกไป
ด้วยตนปฏิบัติไม่มี ยถา มีครุวนาฉันใด ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานประดุจโจร
พระมหากษัตริย์จับได้ให้ลงราชทัณฑ์อาญา อกฺขิอุปฺปาตนํ ให้คลักลูกตาบ้าง สูลาโรปนํ
ให้เสียบหลาวบ้าง หตุถปาทจฺเฉทนํ ให้ตัดมือตัดเท้าบ้าง สีสจฺเฉทนํ ให้ตัดศีรษะบ้าง ตาม
พระราชกำหนดกฎหมาย ฉันใด พระภิกษุทั้งหลาย 60 รูปก็เหมือนกัน ปตนฺติ ตกไปเพราะ
ตนปฏิบัติไม่ดี

อนึ่ง เปรียบประดุจกัททลีและม้าอัสดร ตายเพราะลูกฉันใดก็ดี พระภิกษุ 60 รูปนี้
ตกไปเพราะตนปฏิบัติไม่ดี เหมือนต้นกัททลีและม้าอัสดรทั้งหลาย อันตายด้วยลูกฉันนั้น
อนึ่งเล่า โลหิตอันร้อนไหลออกมาจากปากพระภิกษุ 60 รูปดูน่าเวทนา น ภควโต
กิริยาย
ใช่จะเป็นด้วยสมเด็จพระชิเนนทรบพิตรพิชิตมารบันดาลให้รากโลหิตออกมาบ่มิได้
น ปเรสํ กิริยาย ผู้อื่นจะมากระทำให้ก็หาบ่มิได้ โลหิตร้อนรากออกมาจากปากนี้ อตฺตโน
กิริยาย
ด้วยตนปฏิบัติไม่ดี ยถา มีครุวนาฉันใด นะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจ บุรุษ
ผู้หนึ่งอมตํ ทเทยฺย ให้ซึ่งน้ำอมฤตธาราแก่สาธุชนทั้งหลาย ฝ่ายว่าสาธุชนทั้งปวงได้บริโภค
อมฤตธารา อสฺสาเสตฺวา ก็พากันยินดี ทีฆายุกา มีอายุยืนนักหนาหาโรคาพยาธิบ่มิได้
ปมุจฺเจยฺยุํ พ้นจากอันตรายส่วนหนึ่ง เอโก ภาโค ส่วนหนึ่งกินเข้าไปล้มตาย และบุรุษที่ให้น้ำ
อมฤตธารานั้น จะได้บาปกรรมประการใดหรือ มหาบพิตร
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นเวียงชัยตรัสว่า บุรุษนั้นจะได้บาปกรรมนั้นเป็นว่าหาบ่มิได้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ความนี้ฉันใด นะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระชิน-
มารมิ่งมงกุฎวิสุทธิโลกุตตมาจารย์โปรดประทานให้ซึ่งอมฤตธารารสสุคตธรรม แก่มนุษย์นิกร
เทวาบรรดาอยู่ในหมื่นโลกธาตุถ้วนหน้า ฝ่ายฝูงมนุษย์นิกรเทวาจำพวกที่มีบารมีได้สะสม
อบรมมา ครั้นได้รับประทานซึ่งกระแสสินธุ์อมฤตธาราสไญยธรรมนั้น ปฏิพุชฺฌนฺติ ก็ได้
สำเร็จธรรมาภิสมัยมรรคผล เทพนิกรมหาชนผู้ใดที่มิได้สะสมอบรมบารมีมา เป็นคนพาล
อาภัพนั้น ครั้นได้รับประทานอมฤตธารารสธรรมเข้าไปบ่มิอาจทรงได้ ปตนฺติ ก็ตกไปเหมือนดัง
คนทั้งหลายที่ดื่มน้ำอมฤตเจ้าไปตายฉะนั้น อนึ่งเล่าพระภิกษุ 60 รูป นั้น ครั้นได้ฟังอมฤต-
ธรรมนั้น ปตนฺติ ก็ตกไป อุปไมยเหมือนหนึ่งว่าบุคคลบริโภคอมฤตธาราเข้าไปแล้วตกไป
ไม่ทรงไว้ได้ฉะนี้ จะโทษเอาพระองค์เจ้ากระไรได้ จะเปรียบฉันใดเล่า นะบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานเหมือนบุคคลให้ทานโภชนะนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย เพราะโภชนะเป็น
ของรักษาชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ความนี้มีคนบางคนไม่รู้จักประมาณท้อง จะบริโภคอาหาร
ให้พอสมควร บริโภคเข้าไปเป็นอันมาก จนไฟธาตุไม่อาจเผาผลาญ ลมบันดาลให้แน่นจุกเสียด
ถึงแก่ความตาย บุคคลที่ให้ทานโภชนะนั้น จะมีโทษอย่างหนึ่งสถานหนึ่งด้วยหรือ บพิตรพระ
ราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระมหากรุณาโปรดไว้ว่า บุคคลให้ข้าวเป็นทานนี้มีผล ด้วย
โภชนะรักษาซึ่งชีวิตสาธุชนไว้ แม้ผู้ใดบริโภคโภชนะเข้าไปกระทำกาลกิริยาตายดุจกินยาพิษ

ตายนั้น และจะโทษเอาทายกผู้ให้โภชนะนั้นกระนั้นกระไรได้ ทายกนั้นจะได้บาปกรรมหาบ่มิได้
พระผู้เป็นเจ้า ปัญหานี้โยมไม่มีสงสัย สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาคำวิสัชนาของพระผู้เป็นเจ้าไว้
จะได้เป็นประโยชน์แก่ปัจฉิมาชนตาสัตว์ อันจะเกิดมาเมื่อภายหลังต่อไปในกาลบัดนี้
สัพพสัตตานัง หิตจรณปัญหา คำรบ 6 จบเพียงนี้

เสฏฐธัมมปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ พระพุทธฎีกาที่สมเด็จพระมหากรุณาตรัสแก่วาเสฏฐ-
มาณพว่า โลกุตรธรรมนี้ถ้าผู้ใดสำเร็จแล้วประเสริฐนัก อาจให้เกิดผลเป็นทิฏฐธรรมเห็น
ประจักษ์ในชาตินี้ และจะให้ผลแผ่ไปในปรโลกแก่คนทั้งหลายอันสักการบูชา แล้วพระองค์ตรัส
ใหม่เล่าว่า คีหิ โสตาปนฺโน คฤหัสถ์ได้พระโสดานั้นละบาปกรรมได้เสร็จสิ้นแล้ว จะตายไปสู่
อบายภูมิทั้ง 4 นั้นหาบ่มิได้ เป็นผู้เห็นแท้ในธรรมจะได้สงสัยในคำพระตถาคตว่า ไม่เปลื้องปลด
ให้พ้นสังสารวัฏหาบ่มิได้ พระโสดาบันฆราวาสนั้น ย่อมไหว้และลุกรับภิกษุและสามเณรที่เป็น
ปุถุชน อันยังหนาด้วยกิเลส นี่แหละพระพุทธฎีกาทั้งสองนี้ไม่ต้องกัน เดิมว่าผู้ที่ได้โลกุตรธรรม
นั้น ประเสริฐในปุถุชนจะบูชา ควรที่ปุถุชาจะบูชา ครั้นว่าจะเชื่อกระแสพระพุทธฎีกานี้ พระพุทธฎีกาที่
ได้โปรดไว้ทีหลังว่า พระโสดาบันคฤหัสถ์ย่อมนมัสการและลุกรับพระภิกษุสามเณรเป็นปุถุชน
กระแสพระพุทธฎีกาภายหลังนี้จะเป็นมิจฉา ครั้นจะเชื่อกระแสพระพุทธฎีกาภายหลังเล่า พระ
พุทธฎีกาที่ตรัสไว้ก่อนว่า พระโลกุตรธรรมเสริฐในปุถุนชน ควรปุถุนชาจะบูชา พระพุทธฎีกานี้จะ
เป็นมิจฉา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ คือเป็นสองเงื่อน นิมนต์พระผู้เป็นเจ้า
โปรดวิสัชนาก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ เดิมสมเด็จพระบรม-
โลกนาถศาสดา มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระนวโลกุตรธรรมประเสริฐ ควรปุถุชนทั้งหลายจะไหว้
จะบูชา พระพุทธฎีกานี้ตรัสแน่นอนกระนี้ ปุน จ ครั้นต่อมาเล่า สมเด็จพระพิชิตมารมุนีเจ้ามี
พระพุทธฎีกาตรัสว่าคฤหัสถ์ได้พระโสดาเป็นผู้ละบาปกรรมได้เสร็จนั้น กระทำกาลกิริยาไม่รู้ไป
อบายทั้ง 4 คือ มั่นในคุณพระศรีรัตนตรัย แต่ยังเคารพนบไหว้พระภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชน
ดังนี้ ขอถวายพระพร คำทั้งสองนี้สมเด็จพระทศพลตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้จริง มิได้ผิดและ